Category Archives: ดำน้ำ (Scuba diving)

ลองทายดูสิฉลามพยาบาลกินอะไร

13051497_1032105793547731_1571029999525638822_n

ไม่เคยคิดเลยว่าฉลามจะกล้ากินปลาสิงโตตัวพองๆได้เพราะปลาสิงโตก็มีหนามทั้งตัวแถมมีพิษอีกต่างหาก

แต่วันนี้เรามีรูปมายืนยัน นอนยันแล้วว่าเป็นไปได้จริงๆ

ปลาฉลามพยาบาล หรือ ปลาฉลามขี้เซา (อังกฤษ: Nurse shark, Sleepy shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ginglymostoma cirratum อยู่ในวงศ์ Ginglymostomatidae เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ginglymostoma

โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นคำว่า Ginglymostoma หรือ Ginglymostomatidae มาจากภาษากรีกคำว่า γίγγλυμος (ginglymos) หมายถึง “บานพับ” หรือ “สายยู” และ στόμα (stoma) หมายถึง “ปาก” และคำว่า cirratum มาจากภาษากรีก หมายถึง “ขด” หรือ “ว่ายน้ำ”

จัดเป็นปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes หรือปลาฉลามหน้าดินขนาดใหญ่ พบได้ในทวีปเอเชียและแอฟริกา มีขากรรไกรที่แข็งแรง ในปากมีฟันที่แบนและงุ้มเข้าภายใน ใช้สำหรับงับอาหารซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กกว่าตามหน้าดินและสัตว์มีกระดองและมอลลัสคาต่าง ๆ รวมถึงหอยเม่นให้อยู่และกัดให้แตก โดยใช้อวัยวะที่คล้ายหนวดเป็นเครื่องนำทางและเป็นประสาทสัมผัส จะใช้วิธีการกินด้วยการดูดเข้าปาก มีครีบหางที่ยาวถึงร้อยละ 25 ของความยาวลำตัว ลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขณะที่ยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีจุดเข้มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่ว

ที่มา Wikipedia , World of Oceans

 

 

ที่ญี่ปุ่นมีการดำน้ำท่องเที่ยวแบบใหม่แล้วจ้าที่จังหวัดชิบะ

Shark ecotourism in Japan01.jpg

เมื่อ 2 ปีก่อนหลายๆประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับการลงนามฉลามใน CITES และชาวประมงและร้านดำน้ำของเมือง Tateyama ที่อยู่ทางตอนใต้ของโตเกียว ในเมืองชิบะ ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศของชาวโตเกียว ได้ทำการพัฒนาการท่องเที่ยวรูแบบใหม่ ซึ่งปกติเมืองนี้เป็นชายหาดท่องเที่ยวทั่วไป แต่ตอนนี้เมือง Tateyama มีกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่เรียกว่า  Shark Scramble ซึ่งเป็นการให้อาหารแก่ฉลามนั่นเอง Japanese_Bullhead_Shark_014.jpg

Japanese Bullhead Shark, Heterodontus japonicus . Photo credit:  Andy Murch

ซึ่งชาวประมงที่ Tateyama ประสบปัญหาจากฉลาม banded houndshark เนื่องจากฉลามพวกนี้ทำลายเครื่องมือการทำประมง ซึ่งบางทีฉลามเข้ามาติดอวนหรือที่ดักจับแต่ชาวประมงไม่ได้อยากได้ปลาฉลามเพราะปลาฉลามขายไม่ได้ราคา แล้วชาวประมงก็ไม่อยากฆ่าฉลามด้วย ดังนั้นชาวประมงเลยมีไอเดียขึ้นมา แล้วก็ปรึกษากับร้านดำน้ำ เพื่อหาแนวทางในการป้องกันฉลามและชาวประมงยังคงสามารถทำการประมงโดยไม่ทำร้ายกัน

Shark ecotourism in Japan02.jpgแนวทางที่ได้ก็คือร้านดำน้ำเลยจัดสถานที่ให้อาหารฉลามเพื่อล่อให้ฉลามไม่เข้าไปในบริเวณที่ชาวประมงจะจับปลา ซึ่งแผนนี้ทำมาแล้ว 4 ปีและได้ผลที่เพอร์เฟค

Shark ecotourism in Japan03.jpg

ซึ่งการตกลงร่วมมือกันของร้านดำน้ำและชาวประมงช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ผลประโยชน์ ชาวประมงไม่ต้องกังวลว่าฉลามจะมาทำลายเครื่องมือประมง แล้วฉลามก็ได้อยู่ในที่ที่ปลอดภัยและร้านดำน้ำก็มีรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยว วิน-วินแบบนี้สิ บ้านเราน่าจะมีบ้างหนอ

ที่มา : digitalay, saveoursea

ฮิปโป VS จระเข้ใครจะอยู่ใครจะไป

Hippo-Vs-Shark

photo credit: Stacey Farrell

ไม่ได้มีให้เห็นกันบ่อยๆนะครัชที่ปลาฉลามหัวบาตร (อังกฤษ: Bull shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Carcharhinus leucas) ปะทะกับฮิปโปที่บริเวณแม่น้ำในแอฟริกาใต้

ฉลามกับฮิปโปมาเจอกันได้ไง!

ที่ iSimangaliso Wetland Park ของแอฟริกาใต้ ผู้จัดทัวร์  Stacey Farrell สามารถบันทึกวีดีโอเหตุการณ์นี้ได้

ฮิปโปฝูงนี้กำลังเล่นน้ำหาปลากินกันเพลินๆ ซึ่งน้ำที่นี่สีจะขุ่นๆเหมือนสีโคน ฉลามเลยว่ายหลงมาที่ฝูงฮิปโป ซึ่งเจ้าหลามเกือบจะโดนฮิแโปขย้ำ แต่โชคดีที่เจ้าฉลามไวกว่าเลยรอดเงื้อมมือของฮิปโปฝูงนี้ไปในแบบวินาทีสุดท้าย

สำหรับการเห็นปลาฉลามหัวบาตรในน้ำจืดไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่เลย เพราะฉลามหัวบาตรสามารถอยู่ได้ทั้งน้ำเต็มและน้ำกร่อย ซึ่งเป็นลักษณธะที่พิเศษของฉลามชนิดนี้

ปลาฉลามหัวบาตร มีร่างกายที่สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำจืดสนิทได้ ด้วยการควบคุมปริมาณเกลือและยูเรีย จากต่อมที่ทวารหนักที่ทำหน้าที่เหมือนวาล์วเปิดปิดปัสสาวะ ควบคุมปริมาณเกลือให้สมดุลกับร่างกาย อีกทั้งการที่มีส่วนหัวขนาดใหญ่ทำให้ได้เปรียบกว่าปลาฉลามกินเนื้อชนิดอื่น ๆ ด้วยการที่มีรูรับประสาทสัมผัสที่ส่วนจมูกมากกว่า ทำให้ปลาฉลามหัวบาตรรับรู้สนามไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี จนสามารถรับรู้ได้ถึงเสียงหัวใจเต้นของมนุษย์ ทำให้มีประสาทสัมผัสการล่าที่ดีกว่าปลาฉลามชนิดอื่น

สิงโตทะเลสุดทะเล้นแอบขี่วาฬหลังค่อม

seal3

รูปนี้ช่างกล้องจากออสเตรเลีย Robyn Malcolm ถ่าย หลังจากที่กำลังถ่ายรูปวาฬหลังค่อมที่กำลังหากินในเขต New South Whales ไปไปมามาเจ้าสิงโตทะเลมาแย่งซีน

seal4

ซึ่ง Geoff Ross ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวาฬจาก New South Whales National Parks เปิดเผยว่าเคยได้ยินว่าสิงโตทะเลโดดขึ้นหลังวาฬครั้งหนึ่ง ตอนนั้นสิงโตทะเลคงโดดขึ้นที่ครีบหลังเพื่อหนีจากการล่าของวาฬเพชรฆาต

seal5

Photo credit :Robyn Malcolm/Diimex.com

เอาเป็นว่าเรื่องนี้คงเหมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า สิงโตทะเลคงเหงาอยากมีเพื่อนบ้างเนอะ

วาฬหลังค่อมดูดนมแม่แหล่มมาก

Humpback Whale01

ตามเพจ Digitalay ช่างภาพชาวญี่ปุ่น Takaji Ochi  ถ่ายภาพวาฬหลังค่อมหรือ หรือ วาฬฮัมแบ็ก (อังกฤษ: Humpback whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Megaptera novaeangliae) กำลังดูดนมแม่ได้ น่ารักดีเนอะ วาฬไม่มีนมและไม่ใช่ปลานะจ๊ะ

Humpback Whale 02

วาฬหลังค่อม พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ วาฬที่หากินด้วยการกรองด้วยบาลีน ซึ่งมีแผ่นกรองกว่า 800 แผ่นที่ขากรรไกรด้านบน เพื่อกรองอาหารประเภทปลาและสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เช่น เคย, แพลงก์ตอน และเป็นวาฬที่รู้จักการหาอาหารร่วมกัน เช่น การไล่ต้อนฝูงปลา เป็นต้น โดยจะกินอาหารมากถึงวันละ 1 ตัน วาฬหลังค่อมเพศเมียตกลูกทุก 2-3 ปี มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 11 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกวาฬจะกินนมจากแม่เป็นปริมาณ 100 แกลลอนทุก ๆ วัน

_29A1285w

มาดูความสวยงามของสาหร่ายเรืองแสงยามค่ำคืนที่ชายหาดออสเตรเลีย

Neon glow

ใครจะเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตที่แทบจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สามารถมอบความงามได้อย่างน่าอัศจรรย์ สาหร่ายเรืองแสงปรากฎการที่เกิดที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย ช่างภาพ Andy Hutchinson ถ่ายภาพแพลงค์ตอนเรืองแสงได้ที่หาด  Jervis Bay ทางตอนใต้ของนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales)

Australia's east coast.

ปรากฎการณ์เรืองแสงเกิดจากไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scintillans เป็นแพลงค์Noctiluca scintillans ตอนพืช Noctiluca เซลล์ไม่มีผนังหุ้ม มีขนาดใหญ่ 200 ไมครอนถึงใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร เซลล์
รูปร่างคล้ายวงกลม เซลล์ปกติมีหนวด 2 เส้น ฟัน 1 ซี่ และแซ่ตามลายทางขวาง เซลล์เต็มไปด้วยช่องว่าง เยื่อหุ้มเซลล์เหนียว ไม่มีคลอโรพลาสต์ โดยทั่วไป Noctiluca มีสาหร่ายหรือแพลงค์ตอนที่เรียกว่า symbionts อยู่จำนวนมาก สาหร่ายที่อาศัยอยู่ในเซลล์สามารถสังเคราะห์แสงได้ จึงทำให้ Noctiluca มีสีตามที่ชนิดของสาหร่ายที่อาศัยอยู่

สำหรับที่ออสเตรเลียนั้นการบลูมของสาหร่ายจะเกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงจากการศึกษาของ  Iain Suthers จากมหาลัย University of New South Wales แต่สำหรับที่ประเทศไทยเนื่องจากมีอากาศอบอุ่น สามารถเกิดการบลูมได้ทั้งปีโดยเฉพาะหลังฝนตก

Jervis Bay

แพลงค์ตอนพืชที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเป็นสีเขียวนี้เนื่องจากภายในเซลล์มีสาหร่ายสีเขียว Pedinomonas noctilucae อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง Noctiluca scintillans จะได้รับอาหารจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายสีเขียวนั้นเอง แพลงค์ตอนบลูมไม่ส่งผลดีกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ

Photo credit : Andy Hutchinson

ข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี ,Myfirstbrain.com

 

7 เคล็ดไม่ลับทำอย่างไรให้ไม่หนาวใต้น้ำ

มีคนหลายคนหนีไปทะเลในวันที่อากาศร้อน เพื่อพักผ่อนให้น้ำทะเลช่วยคลายอุณหภูมิความร้อนในตัว แต่สำหรับการดำน้ำการที่เรารู้สึกหนาวไม่ค่อยจะเป็นผลดีดับร่างกายของเรามากนัก ทำให้การตัดสินใจและปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง และร่างกายต้องใช้พลังงานมากกว่าเดิมเพื่อรักษาอุณหภูมิให้แก่ร่างกาย ทำให้การดำน้ำสนุกน้อยลง

เราขอแนะนำวิธีที่ช่วยให้ร่างกายรักษาความอบอุ่นและช่วยให้คุณสนุกสนานกับการดำน้ำมากขึ้น

1. ป้องกันส่วนหัวของคุณ อย่าดำน้ำเย็นโดยไม่มีฮู๊ดหรือหมวกดำน้ำ นี่เป็นของชิ้นแรกๆเลยที่ช่วยป้องกันร่างกายสูญเสียความร้อน เนื่องจากบริเวณศีรษะเป็นส่วนที่เส้นเลือดอยู่ใกล้ผิวหนังมาก ทำให้สูญเสียความร้อนง่ายดาย ใส่ฮู๊ตแล้วช่วยเก็บความร้อนให้ร่างกาย
2. พยายามให้ร่างกายสัมผัสน้ำน้อยที่สุด เว็ทสูทหรือดราย์สูทที่ดีช่วยป้องกันน้ำไม่ให้สัมผัสกับร่างกาย ซ่อมแซมซิปหรือรอยขาดต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณคอเพราะบางครั้งเราต้องว่ายต้านน้ำนี่อาจจะเป็นช่องทางที่ให้น้ำเข้ามา ซึ่งฮู๊ดบางชนิดสามารถเก็บความร้อนที่หัวแล้วยังยาวมาปิดที่คอได้ด้วย
3. พยามยามปกปิดให้มากที่สุด ความร้อนจากร่างกายจะสูญเสียง่ายผ่านผิวหนังที่ไม่มีอะไรป้องกันดังนั้นเว็ทสูทเต็มตัวบางๆดีกว่าเว็บสูทหนาแต่แบบสั้น
4. พยายามอยู่ที่ตื้นๆไว้ ยิ่งคุณลงลึกเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ผ้านีโอปรีน(neoprene) ถูกบีบอัดจากแรงดันความลึก ทำให้ประสิทธิ์ภาพของเว็ทสูทปกป้องจากความเย็นลดลง
5. ขึ้นเถอะถ้าคุณรู้สึกหนาวสั่น ถ้าคุณมีอาการหนาวสั่นแบบควบคุมไม่ได้ ขึ้นมาเถอะนี่เป็นสัญญาณของการมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติหรือ hypothermia

6. ทำตัวให้อุ่นหลังลงน้ำ เว็ทสูทของคุณจะกลายสภาพเป็นตู้เย็นขนาดพกพาหลังดำน้ำ ถอดออกมาเถอะแล้วหาอะไรอุ่นๆใส่ มีนักดำน้ำหลายคนสูญเสียความร้อนจากร่างกายบนบกมากกว่าในน้ำ หาชุดอุ่นๆ เสื้อกันลมใส่ แล้วอย่าลืมถอดเว็ทสูทหรือดราย์สูท ไม่ต้องอาย ไม่มีใครสนใจหุ่นคุณหรอก

7. ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆโกโก้ร้อนช่วยให้ความอบอุ่นแก่คุณถึงภายใน แต่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์นะ เพราะแอลกอฮอลล์จะทำให้ร่างกายสูบฉีดเลือดดีมากขึ้น ยิ่งทำให้คุณสูญเสียความร้อนมากขึ้นกว่าเดิม

ที่มา:http://www.sportdiver.com/keywords/editors-blog/tips-staying-warm-underwater

คุณกล้าดำน้ำกับฉลามเสือไหม Tiger Shark

วีดีโอกระตุ้นอะดีนารีน เห็นแล้วอยากไปดำน้ำที่ Bahamas ที่ Tiger Beach เลยทีเดียวเชียวแต่ว่าขาดอย่างเดียวปัจจัย

ที่มา : https://www.facebook.com/Scubapro?fref=photo

นักดำน้ำช่วยชีวิตโลมาหัวขวด

มาดูเรื่องราวช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับหัวใจรับวันจันทร์กันดีกว่า

นักดำน้ำกลุ่มหนึ่งไปดำน้ำที่ฮาวาย และยังได้ช่วยปลาโลมาหัวขวดที่หัวติดร่างแหในเวลากลางคืน

เจ้าโลมาก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีหลังจากที่เจ้าโลมาหลุดจากร่างแหแล้วก็ออกเดินทางว่ายน้ำต่อไป โชคดีนะเจ้าโลมา

หน้ากากดำน้ำดี๊ดีประจำปี 2558 : ตอนที่ 1

ก่อนจะเข้าเรื่องถ้าคุณเป็นมือใหม่ในการเลือกซื้อหน้ากากดำน้ำ ( Mask) ลองตามไปอ่านเกี่ยวกับหน้ากากดำน้ำที่ลิงค์นี้นะคะ จะอธิบายเกี่ยวกับเลนส์กับการเลือกหน้ากากดำน้ำคราวๆไว้

มาเริ่มกันที่หน้ากากดำน้ำตัวแรกเลยดีกว่า

1. ATOMIC AQUATICS VENOM FRAMELESS

sportdiver-masks-atomicaquatics-venomframeless

–ขอบยางซิลิโคนนุ่มมากกรอบแบบใหม่ผ่านการออกแบบและคำนวณแบบใหม่  

หน้ากากดำน้ำไลน์ใหม่ของ Atomic ขอบยางมีซิลิโคนสองแบบ นุ่มเหมือนจอลลี่แบร์ 555 ใครอายุ 30 + รู้จักแน่ๆ แต่ฝรั่งเรียก Gummi Bear ซิลิโคนตัวนี้จะอยู่บริเวณผิวหน้า  ส่วนซิลิโคนที่เนื้อแข็งขึ้นมาหน่อยจะอยู่ใกล้เลนส์เพื่อช่วยให้แว่นทำงานได้ดีไม่สั่นๆ เป็นเลนส์เดี่ยวให้การมองเห็นแบบแต็มๆ ไม่มีอะไรมาขวาง

เลือกดูสี VENOM FRAMELESS ได้ที่นี่เลยจ้า

ราคาโดยประมาณ: $169

2. IST MP-401 MANTIS

sportdiver-masks-ist-mp401mantis

– ขอบยางตรงจมูกมีแผงลดการลื่นช่วยให้นิ้วยึดติดเหนียวแน่นระหว่างการเคลียร์หู 

รุ่นนี้เทพมากสำหรับนักดำน้ำ  free diving หรือยิงปลา(เอ๊ะยังไง) ปริมาตรอากาศน้อย (low volume) สามารถเคลียร์หน้ากากเวลาน้ำเข้าได้ง่าย ขึ้นมีเลนส์ 4 ด้าน ออกแบบให้มองเห็นระยะกว้างและช่วยให้การเคลียร์หูทำได้ง่าย ขอบยางซิลิโคนสีดำช่วยลดการสะท้อนแสง ขอบยางออกแบบพิเศษช่วยให้ใส่สบายและรับกับรูปหน้าที่หลายๆรูปทรง ไม่ว่าจะหน้ากลมหรือว v-shape พี่รับได้หมด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ​istsports.com

ราคาประมาณ: $60

3.SCUBAPRO FRAMELESS สวยสะท้านกรอบ

sportdiver-masks-scubapro-frameless

– ขนาดไม่ใหญ่เกินไปเคลียร์หน้ากากได้ง่าย, น้ำหนักเบา, เลนส์เดี่ยวช่วยให้เห็นวิวแบบไม่มีอะไรขวาง

เป็นกอริลลาเวอร์ชั่นของหน้ากากดำน้ำตระกูลนี้ ขอบยางขนาดใหญ่ เลนส์ขนาดใหญ่และกว้างขึ้น มีสีดำ สีใสและสีขาวซึ่งเป็นลิมิเต็ทอิดิชั่นของแว่นดำน้ำนี้ ซิลิโคนเนื้อนุ่มปลอดภัยและป้องไม่ให้น้ำเข้า

ดูสินค้าและสีของหน้ากาก ScubaPro Mini Frameless Clear Whiteได้ที่นี่
ราคา$114; กอริลลาเวอร์ชั่น$119

sportdiver-masks-sherwoodscuba-vida

3. SHERWOOD SCUBA VIDA

–ดีไซน์อาจดูธรรมดาแต่ช่วยให้เลนส์เข้ามาใกล้ตาช่วยลดปริมาตรอากาศทำให้เคลีย์หน้ากากง่ายขึ้น

เลนส์คู่รูปหยดน้ำตาช่วยให้เรามองเห็นด้านล่างได้ชัดมากขึ้นขอบยางตรงจมูกเหมาะกับการทำงานเคลียร์หูง่าย มี 8 สีให้เลือก
เลือกดูสี SHERWOOD SCUBA VIDA ได้ที่นี่เลยจ้า 

ราคา: $50- 70

sportdiver-masks-scubapro-synergy2twin

4. SCUBAPRO SYNERGY2 TWIN

–มีทั้งแบบเลนส์เดี่ยวและเลนส์คู่ แล้วยังมีให้เลือกถึง 6 สี 

หน้ากากที่ขอบยางซิลิโคนบาง นุ่มและรับเข้ากับรูปหน้า มอบความสบายแก่ผิว บาง ขอบยางด้านบนยังเสริมความแข็งแกร่งช่วยป้องกันน้ำเข้า

เลือกดูสี SYNERGY2 TWIN ได้ที่นี่ 

ราคาโดยประมาณ: $119; $129

ที่มา

http://www.sportdiver.com/photos/dive-gear-guide-2015-best-dive-masks?dom=fb