Category Archives: ปลา

ใครเคยเห็นกระดูกช่องปากปลาโรนินหรือยัง

Credit image : http://fishesofaustralia.net.au

ปลาโรนิน หรือชื่อสามัญภาษาอังกฤษคือ: Bowmouth guitarfish, Mud skate, Shark ray เป็นปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhina ancylostoma อยู่ในวงศ์ Rhinidae

มีรูปร่างแตกต่างไปคล้ายกับปลาโรนัน (Rhinobatidae) แต่มีลักษณะที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อป้องกันตัว โดยมีส่วนหัวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนกลมและโค้งมน ปากกลม ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังตั้งสูง เป็น 2 ตอน บริเวณเหนือตามีสันเป็นหนาม ตรงกลางหลังด้านหน้าของครีบหลังมีหนามเรียงตัวกันเป็นแถวชัดเจน พื้นผิวลำตัวด้านบนมีสีเทาอมน้ำตาล มีแต้มเป็นจุดสีขาวจาง ๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ด้านท้องมีสีขาว ยิ่งโดยเฉพาะปลาวัยอ่อนจะมีลวดลายที่มากกว่าปลาตัวโต

Bowmouth guitarfish swimming

ขนาดโตเต็มที่มีความยาวได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 135 กิโลกรัม พบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลน จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยากมากในปัจจุบัน พบได้ในทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, ญี่ปุ่นตอนใต้, ปาปัวนิวกินี, ในน่านน้ำไทยพบที่ฝั่งอันดามัน โดยมีชื่อที่ชาวประมงเรียกว่า “ปลากระเบนพื้นน้ำ” และมีความเชื่อว่าหนามบนหลังนั้นใช้เป็นเครื่องรางของขลังในทางไสยศาสตร์ได้ โดยนิยมนำมาทำเป็นหัวแหวน หรือนำมาห้อยคอ ซ้ำยังมีราคาซื้อขายที่ไม่แพง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยมีเพียงตัวเดียว ที่อันเดอร์วอเตอร์เวิลด์ พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีราคาซื้อขายที่แพงมากนับล้านบาท ซึ่งปลาในที่เลี้ยงมีพฤติกรรมที่เชื่องต่อผู้เลี้ยงและกินเก่งมาก

มาดูกระดูกปากด้านหน้า

© Simon De Marchi

© Simon De Marchi

กระดูกปากด้านข้าง

© Simon De Marchi

จากรูปถ่ายเราสามารถศึกษาพฤติกรรมการกินของปลาโรนินซึ่งปลาโรนินอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลใกล้ชายฝั่ง ตามแนวปะการัง กินกุ้ง ปู และสัตว์น้ำจำพวกหอยเป็นอาหาร

ที่มา : http://www.shark-references.com/

: BLOCH, M.E. & SCHNEIDER, J.G. (1801)

:ปลาโรนิน Wiki

 

 

ลองทายดูสิฉลามพยาบาลกินอะไร

13051497_1032105793547731_1571029999525638822_n

ไม่เคยคิดเลยว่าฉลามจะกล้ากินปลาสิงโตตัวพองๆได้เพราะปลาสิงโตก็มีหนามทั้งตัวแถมมีพิษอีกต่างหาก

แต่วันนี้เรามีรูปมายืนยัน นอนยันแล้วว่าเป็นไปได้จริงๆ

ปลาฉลามพยาบาล หรือ ปลาฉลามขี้เซา (อังกฤษ: Nurse shark, Sleepy shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ginglymostoma cirratum อยู่ในวงศ์ Ginglymostomatidae เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ginglymostoma

โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นคำว่า Ginglymostoma หรือ Ginglymostomatidae มาจากภาษากรีกคำว่า γίγγλυμος (ginglymos) หมายถึง “บานพับ” หรือ “สายยู” และ στόμα (stoma) หมายถึง “ปาก” และคำว่า cirratum มาจากภาษากรีก หมายถึง “ขด” หรือ “ว่ายน้ำ”

จัดเป็นปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes หรือปลาฉลามหน้าดินขนาดใหญ่ พบได้ในทวีปเอเชียและแอฟริกา มีขากรรไกรที่แข็งแรง ในปากมีฟันที่แบนและงุ้มเข้าภายใน ใช้สำหรับงับอาหารซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กกว่าตามหน้าดินและสัตว์มีกระดองและมอลลัสคาต่าง ๆ รวมถึงหอยเม่นให้อยู่และกัดให้แตก โดยใช้อวัยวะที่คล้ายหนวดเป็นเครื่องนำทางและเป็นประสาทสัมผัส จะใช้วิธีการกินด้วยการดูดเข้าปาก มีครีบหางที่ยาวถึงร้อยละ 25 ของความยาวลำตัว ลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขณะที่ยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีจุดเข้มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่ว

ที่มา Wikipedia , World of Oceans

 

 

มาดูกันสิว่าในปากปลาปากกลมเป็นยังไง

ปลาปากกลม

วันนี้เราจะพามาดูปลาปากกลมซึ่งเป็นสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตาที่มีกระดูกสันหลัง โดยในกลุ่มนี้เราแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกร และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร

ปลาปากกลม (class  Cyclostomata )   คือสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกร ลำตัวยาวคล้ายปลาไหล ปากกลม ขอบบนของปากและปลายลิ้นมีฟันเล็กๆแหลมคมมากมาย ลำตัวนิ่ม ไม่มีเกล็ด ไม่มีขากรรไกร ไม่มีครีบคู่ (เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังประเภทเดียวที่ยังมีโนโตคอร์ดเหลืออยุ่ขณะเป็นตัวเต็มวัย) มีช่องเหงือก 7 คู่

ภาษากรีก* cyclo แปลว่า “กลม”; stoma แปลว่า “ปาก”)

หลักฐานฟอสซิลระบุว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร (Gnathostomata) เพิ่งจะเริ่มวิวัฒนาการเมื่อราว 500 ล้านปีที่แล้วนี้เอง ดังนั้นนักชีววิทยาจึงจัดให้ “ปลาปากกลม” ทั้งสองตัวเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีลักษณะ primitive หมายถึงลักษณะที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษของกลุ่ม

น่ากลัวดีไหม ดีนะที่อยู่น้ำลึก ไม่งั้นผมสยองเวลาไปเล่นน้ำทะเล

 

ที่มา

https://suwanneefai.wordpress.com

https://jusci.net

 

ปรากฏการณ์ “ปลากอง” นับหมื่นตัวว่ายทวนน้ำขึ้นวางไข่ที่น่าน

Hypsibarbus vernayi.jpg

ชาวบ้านแห่ดู-ถ่ายภาพ “ปลากอง” หรือปลาปีกแดงนับหมื่นตัว ว่ายทวนน้ำขึ้นมาผสมพันธุ์และวางไข่ ช่วงฤดูวางไข่ ที่ลำน้ำมาง บ้านสบมาง หมู่ 4 ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าปรากฏการณ์ “ปลากอง” เผยปรากฏการณ์นี้จะเกิดเฉพาะวันพระเดือนมีนาฯ ปีละ 2 วันเท่านั้น แถมปีนี้มีน้อยกว่าปีก่อนมาก หลังมีการขุดลอกลำน้ำมาง จนระบบนิเวศเปลี่ยน-น้ำขุ่น

” ปลากอง.” คือ พฤติกรรมการการวางไข่ของปลาปีกแดง หรือ ปลาตะเพียนปากหนวด( Hypsibarbus vernayi. Norman,1925) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์ ปลาตะเพียนHypsibarbus vernayi 01.jpg

ดร.ทวน อุปจักร์ อายุ 39 ปี เจ้าของบ่อเกลือวิว เปิดเผยว่า ทุกปีในลำน้ำมางจะมีปลาปีกแดงนับหมื่นตัวว่ายทวนกระแสน้ำ เพื่อขึ้นมาผสมพันธุ์ – วางไข่ในที่ตื้น และมีโขดหิน ในช่วงเดือนมีนาคม โดยชาวบ้านเรียกว่าปรากฏการณ์นี้ว่า “ปลากอง” ซึ่งปรากฎการณ์ปลากองนี้ จะเกิดในวันพระ เพียงแค่ 2 วันของเดือนมีนาคมของทุกปีเท่านั้น หลังจากปลาที่ขึ้นมาผสมพันธุ์-วางไข่แล้วจะกลับไปที่อยู่อาศัยเดิมบางตัวก็ตายตามอายุของปลา
Hypsibarbus vernayi 02.JPEG
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ปลาปีกแดงขึ้นมาผสมพันธุ์น้อยกว่าปีที่ผ่านมามาก เพราะมีการขุดลอกลำน้ำมาง ทำให้ระบบนิเวศในลำน้ำมางไม่ค่อยดี แม่น้ำขุ่นมัว และยังไปทำลายที่อยู่อาศัยของปลาปีกแดง จึงทำให้ปลาตายและหนีไปจากแหล่งอนุรักษ์พันธ์ปลาของหมู่บ้าน ที่ชาวบ้าน ต.ภูฟ้า ได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้ปลามาอยู่อาศัยและมาวางไข่ เพราะปลาปีกแดง มันจะจำสถานที่ที่มาวางไข่ได้ คล้ายกับปลาแซลมอน
Hypsibarbus vernayi 03.JPEG
ในช่วงที่ปลาขึ้นมาผสมพันธุ์และวางไข่ทางผู้ใหญ่บ้านและกำนันจึงได้ประกาศประชาสัมพันธ์ไม่ให้ชาวบ้านจับปลาในฤดูวางไข่ ถ้าชาวบ้านฝ่าฝืนจะมีการลงโทษโดยการปรับเป็นเงิน 500-1,000 บาทต่อตัว เพื่อจะได้รักษาและอนุรักษ์พันธุ์ปลาปีกแดง ไม่ให้สูญหายไปจากลำน้ำมาง
Hypsibarbus vernayi 04.JPEG

ที่มา:MGR Online

สุดโหดฉลามตัวเมียกินฉลามตัวผู้ที่เกาหลี

สงครามย่อยในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่กรุงโซลประเทศเกาหลี ฉลามเสือตัวเมียกินฉลาม banded hound shark ตัวผู้ ผู้โชคร้ายว่ายผ่านเข้ามา

ฉลามเสือตัวเมียมีอายุ 8 ปี กินฉลามเพศผู้ที่มีอายุ 5 ปีที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ COEX Aquarium

โดยฉลามตัวเมียจะเริ่มกินฉลามตัวผู้ด้วยการกลืนส่วนหัวเข้าไปช้าๆ แล้วค่อยกลืนเข้าไปทั้งตัว โดยสำนักข่าว Reuters บอกว่า “บางครั้งหากฉลามว่นกัน ฉลามเหล่านั้นก็สามารถกินกันได้” คงจะประมาณคล้ายๆคนเราเหยียบตีนกันก็ฆ่ากันได้

ที่มา: newsweek.com

มามุงดูโลมาคลอดลูกที่ฮาวาย

สงสัยไหมว่าโลมาคลอดลูกยังไง ก็อย่างที่เราทราบกันโลมาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปกติสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะคลอดลูกเป็นตัว โลมาคุณแม่มือใหม่ของเราคือ Keo ซึ่งเป็นโลมาอายุ 12 ปี (ณ ตอนนั้น ) ที่ Dolphin Quest Hawaii เรามาดูสิว่าการกำเนิดของโลมาเป็นยังไง

โดยว่าที่คุณแม่ Keo ว่ายวนไปมาแต่ไม่เร็ว แล้วหางของลูกน้อยก็โผล่มาก่อน

รูปนี้เป็นมุมด้านล่าง แสดงส่วนหางของลูกน้อย

เบ่งจ้า Keo ตอนนี้ Keo น่าจะปวดเพราะหยุดว่าแล้วอยู่นิ่งๆ

นิ่งได้สักพักก็ตกลงจะว่าตกลงก็ไม่ถูกอาจจะรวบรวมพลังเบ่งจนก้นจ้ำเบ้า 

เอาใหม่เบ่งอีก ลูกน้อยเริ่มมีลำตัวโผล่ออกมาเยอะขึ้น

ซูมให้เห็นมากขึ้น มาแล้วเจ้าตัวน้อยกำลังจะมาแล้ว 

คุณแม่ Keo เบ่งเข้า เบ่งคะคุณแม่  เบ่งคะ อ้าวอินซะแล้น

ตอนนี้คุณแม่ Keo เริ่มจะบิดตัวสะบัด คงเป็นอาการมดลูกบีบตัวเปล่าไม่รู้ 

ลูกใกล้จะออกมาแล้วจ้า อดทนไว้คุณแม่ Keo
  ในที่สุดโลมาทารกเพศหญิงก็เกิดขึ้น โอ๊วมีเลือดด้วย แฝงความรุนแรงนี่หน่า

ออกมาได้สักพักโลมาตัวลูกก็ว่าน้ำ คงดีใจที่ได้ออกมาว่ายในทะเลปกติมากกว่าถุงน้ำคล้ำ

คุณแม่ถึงแม้จะมีเลือดออกแต่นางก็สู้ มาคอยช่วยน้อนว่ายน้ำด้วย

สุขใดจะเท่าสุดขที่ได้รับหรือมอบให้แม่นะ ดูสิแม่เหนื่อยแต่ก็ยังนั่งทำงาน  

เลือดหลั่งไปเดี๋ยวก็หาย แต่ความรู้สึกเป็นแม่มันถอนไม่ๆได้ รักแบบไม่มีเงื่อนไขด้วย

ที่มา: Dolphin Quest Hawaii.,Mike Peterson.

 

ที่ญี่ปุ่นมีการดำน้ำท่องเที่ยวแบบใหม่แล้วจ้าที่จังหวัดชิบะ

Shark ecotourism in Japan01.jpg

เมื่อ 2 ปีก่อนหลายๆประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับการลงนามฉลามใน CITES และชาวประมงและร้านดำน้ำของเมือง Tateyama ที่อยู่ทางตอนใต้ของโตเกียว ในเมืองชิบะ ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศของชาวโตเกียว ได้ทำการพัฒนาการท่องเที่ยวรูแบบใหม่ ซึ่งปกติเมืองนี้เป็นชายหาดท่องเที่ยวทั่วไป แต่ตอนนี้เมือง Tateyama มีกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่เรียกว่า  Shark Scramble ซึ่งเป็นการให้อาหารแก่ฉลามนั่นเอง Japanese_Bullhead_Shark_014.jpg

Japanese Bullhead Shark, Heterodontus japonicus . Photo credit:  Andy Murch

ซึ่งชาวประมงที่ Tateyama ประสบปัญหาจากฉลาม banded houndshark เนื่องจากฉลามพวกนี้ทำลายเครื่องมือการทำประมง ซึ่งบางทีฉลามเข้ามาติดอวนหรือที่ดักจับแต่ชาวประมงไม่ได้อยากได้ปลาฉลามเพราะปลาฉลามขายไม่ได้ราคา แล้วชาวประมงก็ไม่อยากฆ่าฉลามด้วย ดังนั้นชาวประมงเลยมีไอเดียขึ้นมา แล้วก็ปรึกษากับร้านดำน้ำ เพื่อหาแนวทางในการป้องกันฉลามและชาวประมงยังคงสามารถทำการประมงโดยไม่ทำร้ายกัน

Shark ecotourism in Japan02.jpgแนวทางที่ได้ก็คือร้านดำน้ำเลยจัดสถานที่ให้อาหารฉลามเพื่อล่อให้ฉลามไม่เข้าไปในบริเวณที่ชาวประมงจะจับปลา ซึ่งแผนนี้ทำมาแล้ว 4 ปีและได้ผลที่เพอร์เฟค

Shark ecotourism in Japan03.jpg

ซึ่งการตกลงร่วมมือกันของร้านดำน้ำและชาวประมงช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ผลประโยชน์ ชาวประมงไม่ต้องกังวลว่าฉลามจะมาทำลายเครื่องมือประมง แล้วฉลามก็ได้อยู่ในที่ที่ปลอดภัยและร้านดำน้ำก็มีรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยว วิน-วินแบบนี้สิ บ้านเราน่าจะมีบ้างหนอ

ที่มา : digitalay, saveoursea

สิงโตทะเลฟัดกับโมลาโมล่าใครจะชนะ

Sealion eat sunfish 01

ช่างภาพชื่อดัง Richard Herrmann จับภาพสิงโตทะเลกำลังกัด(กิน) ปลาโมลาโมล่าที่อ่าว San Diego ในรัฐ California  ซึ่งปลาโมลาโมล่ามีขนาดยาว 10 ฟุตและสามารถหนักถึง 2,000 กิโลกรัมเลยทีเดียว 

Sealion eat sunfish 02สิงโตทะเลสามารถหนักได้ถึง 400 กิโลกรัม และกินปลากว่า 50 ชนิด โดยปกติสิงโตทะเลจะกินหมึก ปลาแฮรรี่หรือกินแซลมอน 

Sealion eat sunfish 03

ดูท่าเจ้าสิงโตทะเลจะแซ่บมากและคงกินไม่หมดแน่ๆเลย

Sealion eat sunfish 04
ดูท่าโมลาโมล่าคงเสียชีวิตแล้วแล้วเจ้าสิงโตทะเลคงเข้าไปกินซาก(เดานะคะ คิดว่าสิงโตทะเลไม่น่าจะเข้าไปโฉบกินปลาที่ตัวใหญ่ขนาดนี้) แต่คืบก็ทะเลศอกก็ทะเลอะไรก็เกิดขึ้นได้

มาดูวีดีโอดีกว่าจะได้เห็นกันชัดๆ

ที่มา:dailymail

ปลาฉนาก หน้าตาเป็นยังไงอ๊ะ

sawfish01

เครดิตรูป:www.aqua.org

อีกหนึ่งใน Wishlist ของกระผมอีกแล้ว แต่คิดว่าคงนานเลย อาจจะไม่ได้ดำน้ำเลยอีก 2 ปี เอ้างั้นไปหาดูตามพิพิธพันธ์สัตว์น้ำละกันเนอะ

ปลาฉนาก: Sawfish  จัดเป็นปลาจำพวกหนึ่งของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน จัดเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม แต่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับปลากระเบน มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ อยู่ใต้ส่วนหัว แต่มีส่วนหัวและหน้าอกแบนราบ ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ครีบหลังอันแรกอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นผิวลำตัวด้านหลังมีสีเทาอมเขียว ส่วนท้องมีสีขาว

sawfishanatomy_external

เครดิตรูป www.flmnh.ufl.edu

ปลาฉนากมีอวัยวะเด่นคล้ายกระบองแข็งยื่นยาวออกมา มีความยาวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัวและหาง และรอบส่วนแข็งนั้นมีซี่แหลมเล็ก ๆ อยู่โดยรอบคล้ายใบเลื่อย ใช้ในการป้องกันตัวและเชื่อว่าใช้นำทางและหาอาหาร โดยจะใช้ฟันเลื่อยนี้ตัดอาหาร เช่น ปลา ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งขนาดและจำนวนของซี่ฟันขึ้นอยู่ตามชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pristidae

sawfish02

เครดิตรูป  : www.underwaterworld.com.au

เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยหาอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดินและปลาขนาดเล็กต่างๆ มักอาศัยและหากินในบริเวณที่มีโคลนเลนขุ่น พบอาศัยในเขตอบอุ่นทั่วโลกตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, แอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลียทางตอนเหนือ เป็นปลาทะเลที่บางสายพันธุ์ สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำจืดได้ด้วย

เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่จะมีการเจริญเติบโตในช่องท้องของตัวเมีย เมื่อฟักแล้วจะทำให้ดูคล้ายออกลูกเป็นตัว เป็นปลาที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์เต็มที่

sawembryo

และด้วยลักษณะเด่นที่จะงอยปากที่แลดูคล้ายเลื่อยขนาดใหญ่ ปลาฉนากเมื่อถูกมนุษย์จับได้ จะนิยมตัดเอาเฉพาะจะงอยปากนั้นมาทำเป็นเครื่องประดับ หรือเก็บไว้เป็นของระลึก หรือใช้เป็นอาวุธ

sawfish03

เครดิตรูป :  Colin Simpfendorfer

ที่มา : สำรวจโลก

 

ชาวประมงช่วยทำคลอดให้ปลากระเบน

STINGRAY give birth

เพจ สำรวจโลก  รายงานว่า Javier Capello ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอความยาว 39 วินาที ซึ่งเป็นภาพของแม่ปลากระเบนท้องแก่ที่ออกลูกบนเรือชาวประมง โดยชาวประมงได้จับปลากระเบนตัวนี้มาโดยไม่รู้ว่ามันเป็นปลากระเบนท้องแก่ เมื่อถูกจับขึ้นมาบนเรือลูกของมันค่อย ๆ ออกมาโดยมีชาวประมงช่วยดันให้ลูกมันออกมา ซึ่งลูกปลากระเบนมีด้วยกันราว 12 ตัว จากนั้นพวกเขาก็ปล่อยทั้งแม่และลูกลงสู่ทะเล

ที่มา : ข่าวสด & สำรวจโลก