Category Archives: ปู/กุ้ง

กุ้งที่พบในแม่น้ำบางปะกง

13043551_575876545919625_1314328952282550505_n

รูปนี้ได้มาจากเพจ บางปะกง สายน้ำแห่งชีวิต ไม่น่าเชื่อใช่ไหมว่าแม่น้ำบางปะกงจะมีกุ้งหลากหลายพันธ์

จากงานวิจัยของน้อง ม. มหาสารคาม ที่ทำวิจัยเรื่องการเพาะเลี้ยงกุ้งของชาวบ้าน พบว่าในแม่น้ำบางปะกงพบกุ้งไม่น้อยกว่า 14 ชนิด

จากการสำรวจในเวลาไม่นานของทีมงานเพจ ช่วงบริเวณอำเภอบ้านโพธิ์ จ. ฉะเชิงเทรา พบกุ้งที่ในแม่น้ำบางปะกง 9 ชนิด ได้แก่
1. กุ้งกุลาดำ
2. กุ้งก้ามกราม หรือกุ้งแม่น้ำ
3. กุ้งแชบ๊วย
4. กุ้งขาว
5. กุ้งตะกาด
6. กุ้งเปลือกอ่อน
กุ้งตะกาดและกุ้งเปลือกอ่อนจะคล้ายกันมาก แต่ก็มีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ เมื่อพลิกดูใต้ท้อง กุ้งเปลือกอ่อนจะมีจุดขาวใต้ท้อง และมีสีอ่อนกว่า เปลือกจะนิ่มและลื่นกว่ากุ้งตะกาด
กุ้งตะกาดจะอาศัยขุดรูอยู่ในดินโคลน แต่กุ้งเปลือกอ่อนจะอยู่ในแม่น้ำ จะไม่ขุดรูอาศัย
7. กุ้งดีดขัน หรือกุ้งต๊อก, กุ้งกระเตาะ มีก้ามข้างขวาขนาดใหญ่กว่าข้างซ้าย ที่มาของชื่อ เพราะเมื่อช่วงเวลาน้ำลง มักจะได้ยินเสียงกุ้งชนิดนี้งับก้ามทำให้เกิดเสียงดัง “ป๊อก” เหมือนเราใช้นิ้วดีดขัน เป็นการทำเพื่อให้ศัตรูตกใจ
8. กุ้งกะเปาะ หรือกุ้งกะต่อม
9. กุ้งฝอย

 

ที่มา : facebook page บางปะกง สายน้ำแห่งชีวิต

เพื่อนหรือศัตรู?

Cyclopterus lumpus egg.jpg

Photo credit : Dan Bolt

เขาว่ากันว่าโลกนี้ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร บางทีสิ่งที่เราเห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราคิด แว็บแรกที่เห็นรูปนี้เราก็คิดไปว่าปูนี่ต้องกำลังจะกินไข่ปลาแน่ๆ แต่หารู้ไม่เราเกือบจะตัดสินปูจากท่าทาง(เหมือนตัดสินหนังสือจากหน้าปก)เกี่ยวไหมเนี่ย กร๊ากก

ซึ่งแท้จริงแล้วเจ้าปูตัวแบน หรือ porcelain crab (Pisidia longicornis) ตัวนี้กำลังกำจัดพยาธิหรือพาราไซต์ให้แก่ไข่ปลา Cyclopterus lumpus จัดเป็นปลาในตระกูลคาร์เวียพบแถบนอร์เวย์และทะเล Barents Sea และรอบๆชายฝั่งของกรีนแลนด์และแคนาดา  หน้าตาปลา Cyclopterus lumpus ตอนโตJielbeaumadier_poisson_gris_2_paris_2014.jpeg.jpeg

Photo credit : Jiel Beaumadier

นักถ่ายภาพ Dan Bolt ได้ถ่ายรูปไข่ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิแล้วเฝ้าติดตามพัฒนาการ ในตอนแรกที่เขาเห็นปูตัวแบนเขาก็นึกว่าปูตัวแบนนั้นจะกินไข่ปลา ซึ่งเมื่อเขาสังเกตดูให้ดีเขาจึงเห็นว่าจริงๆแล้วปูตัวแบนมากินตับ ตับ ตับ เอ้ยพยาธิและทำความสะอาดไข่ น่าทึ่งไหมละครัชท่านผู้ชม

แถมรูปปูทำความสะอาดไข่ปลายังติดอันดับที่ 17 การประกวดภาพถ่าย 2016 Underwater Photographer of the Year Contest อีกด้วยไม่ธรรมดานะเนี่ย

 

ที่มา :http://www.theatlantic.com , Rueangrit Promdam, en.wikipedia.org

 

พยาธิกุ้งขน Hairy shrimp หรือ Alge shrimp

hairy shrimp with parasite.jpg

Hairy shrimp หรือ Alge shrimp  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phycocaris simulans กุ้งตัวนี้มีขนาดเล็กมาก แต่ใครจะเชื่อว่ากุ้งที่ตัวเล็กจนแทบจะมองไม่เห็นยังมีพยาธิ ไม่เชื่อดูรูป โอ๊วไม่น่าเชื่อกุ้งตัวกระจิดแต่ยังมีพยาธิที่กระจิดกว่า

hairy shrimp.jpg

ตามมาด้วยรูปที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่ากุ้งขนหรือ Hairy Shrimp ของเรา 2 ตัวจะมาเดินเรียงสวย นับว่าเป็นอะไรที่ lucky shot มากๆ

Photo credit : Qin Lin

มาดูสิว่าพ่อปูแคร์แม่ปูขนาดไหน

ใครจะรู้ว่าพ่อปูนั้นรักแม่ปูขนาดไหน วีดีโอนี้ถ่ายโดย ได้จาก Facebook ของ Os Quatro Elementos ซึ่งเป็นวีดีโอน่ารักของปูเวลาย้ายรัง

เริ่มจากที่ทั้งคู่โผล่มาแค่ช่วงตา

แล้วตัวผู้ก็ค่อยๆโผล่จากทรายขึ้นมาก

ค่อยๆบรรจงอุ้มศรีภรรยาขึ้นจากทราย

หอบกันไปปูตัวเมียนี่โชคดีจริงๆ

ซูมระยะใกล้ๆ โถจะเรียกพ่อพระคงไม่ได้แล้ว เราต้องเรียกพ่อปู 

พอเจอแหล่งที่ฝังตัวใหม่ตัวผู้ก็ค่อยๆขุดทรายลงไป

ขุดครับผมเป็นจอมขุด

ในขณะเดียวกันตัวเมียก็ค่อยขุดทรายเพื่อที่ตัวเองจะได้หลบเข้าไปในทรายเช่นกัน

โถพ่อปูน่ารักขนาดนี้จะไม่ให้รักได้ยังไง เอาใจอุ้มกันไปซะขนาดนี้

ที่มา :Os Quatro Elementos

 

 

มาดูกุ้งขน Hairy shrimp หรือ Alge shrimp กัล

Hairy Shrimp_DSC5820 Hairy shrimp หรือ Alge shrimp

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phycocaris simulans

หรือเรียกว่า Hairy shrimp หรือ Algae shrimp ชื่อไทยขอตั้งเองเลยละกันกุ้งขนหรือกุ้งสาหร่าย (มรึงไม่ได้ตั้งชื่อแล้วแอนใช้อากู๋แปลใช่ไหม)

กุ้งตัวนี้ยังไม่มีข้อมูลทางด้านวิทยาศาตร์มากนัก แอดมินแอนเจอครั้งแรกตอนไปดำน้ำที่ราจาอัมพัด (Raja Ampat) น่าจะปี 2012 ถ้าจำไม่ผิดโขดหินที่ Magic rock ม้าง มีแมนต้าว่ายป้วนเปี้ยนไปมา บอกกงกงครั้งแรกที่เห็นนึกว่าไกด์ดำน้ำชี้เศษฝุ่นสีดำๆ แล้วแบบทุกคนรุมหินก้อนเดียว อีกมือหนึ่งต้องคอยปัดแมนต้าที่ว่ายวนไปมา ขึ้นมาถามไกด์ชี้ตัวไรหว่า นางก็แจ้งว่า Hairy shrimp ก็รีบไปค้นดูรูป อืมฉันพลาดไปแล้ว

หลังจากทริปนั้นก็ไปต่อที่ตูลำเบ็น (Tulumben) ก็เมาท์มอยกับไดฟ์ไกด์เจ้าประจำ เขาก็บอกว่าโอ๊ยที่นี่ตรึมเดี๋ยวพาไปดูที่ลิเบอร์ตี้ (Liberty wreck ) เราก็เริ่มปฎิบัติการล่า Hairy shrimp พวกเราเริ่มลงดำประมาณ 5 โมงครึ่งดำไปกว่า 50 นาทีถึงจะเจอ เจอเองด้วย(ไม่ได้เก่งนะ แต่มันมีเยอะมาก 555) ดีใจมากแล้วกุ้งมันดีดตัวเองมาเข้ามือ รีบกำจะว่ายไปหาบัดดี้ บ้าไงอย่าทำตามนะ กุ้งตัวเล็กกว่าเซนมันก็รอดมือหลุดไป อย่างที่บอกว่ามันมีตรึมหาไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็เจอ แล้วกุ้งนี่มีหลายสีนะ บางทีก็ไม่มีขน อาจจะเป็นอีกเหตุว่าทำไมถึงเรียกอีกชื่อว่า Algae shrimp ม้าง มีสีขาว เขียว ดำ และสีออกชมพูม่วงๆ HAIRY Shrimpสีชมพูม่วงๆนี่น่าจะเป็นขนาดใหญ่สุด แล้วสีเขียวอาจจะเป็นขนาดกลาง สีขาวน่าจะเล็กสุด ( เกี่ยวไหมหว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับเลยแม่คุณ)Hairy Shrimp_DSC5822หลังจาก Hairy shrimp อยู่ในกลุ่มสัตว์ is a must ของพวก muck dive แล้ว ปรากฎว่าไม่ว่าจะเป็น Anilao , Mactan, Tulumben, Lembeh , Raja Ampat เขาก็โผล่มากันตรึม

ลองมาดูเป็นคลิปดีกว่าแล้วลองสังเกตดูว่าเจ้ากุ้งตัวนี้อาศัยอยู่กับอะไร ไปดำน้ำคราวหน้าจะได้ลองตามหาดูเองสนุกกว่าไกด์หาให้นะ

Video credit : 

ใจไม่ถึงอย่าดูปลาบู่น้อยโดนโคพีพอดส์ดูดเลือด

เพิ่งรู้ว่าปลาทะเลก็มีปรสิตด้วย เจ้าโคพีพอดส์(copepods) ใจร้ายจังทำกันได้

กลุ่มโคพีพอดส์ (copepods) ได้สมญาว่าเป็น “แมลงแห่งท้องทะเล”  เพราะเป็นสัตว์ที่มีจำนวนชนิดและความชุกชุมมากที่สุดในบรรดาสัตว์บกคล้ายกับแมลงทั่วโลก

โคพีพอดดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนทั้งชีวิต  สามารถล่องลอยอยู่ในน้ำ ตั้งแต่ระยะเวลาที่เป็นไข่ เป็นตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย โคพีพอดส่วนใหญ่มี ขนาดตั้งแต่ 0.5 จนถึง 3.5 มิลลิเมตร รูปร่างและสีสันของโคพีพอดแตกต่างกันมากมายและสามารถอาศัยอยู่ได้ตั้งแต่ระดับผิวน้ำจนถึงระดับลึกมากกว่า 1,000 เมตร โคพีพอดที่อยู่ผิวน้ำซึ่งมีแสงจ้า ลำตัวจะใสเพื่อพรางลำตัวไม่ให้ศัตรูเห็น ชนิดที่อยู่ในทะเลลึกไม่มากนักสีของลำตัวจะมีหลากหลายตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้มจนเกือบดำ จนถึงสีฟ้า หรือสีเขียว โคพีพอดกินอาหารได้หลายประเภท ตั้งแต่พืช สัตว์อื่น (ทั้งที่มีขนาดเล็กกว่าหรือขนาดใหญ่กว่า เช่น ลูกปลา)  สิ่งเน่าเปื่อยจนถึงเป็นปรสิต  ด้วยเหตุนี้โคพีพอดจึงเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลายของชนิดสูงมาก  ในทางกลับกัน โคพีพอดก็เป็นอาหารอันโอชะของสัตว์กินเนื้อชนิดอื่น โดยเฉพาะเป็นอาหารโปรดของหนอนธนู หวีวุ้นcnidarians  ลูกปลา

ที่มา

http://www.rspg.org/plankton1/plankton03.htm

ปูโดนหมึกกินบนบก เอ๊ะเป็นไปได้ยังไง

ใครจะเชื่อว่าเจ้าหมึกจะทำได้ ลองนึกว่าถ้าคุณเป็นปู เห็นหมึกในน้ำก็ต้องโกยสิฮะ

แต่นี่บนบกทำไมเราต้องกลัวชิมิ?

ล่าสุดมีหญิงสาวสามารถบันทึกภาพวีดีโดที่ Yallingup อยู่ด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เจ้าปูผู้โชคร้ายเดินบริเวณหาดหินตอนน้ำลง โดนเจ้าหมึกจู่โจม เอ๊ะหรือนี่จะเป็นหมึกสายพันธุ์ใหม่ ร็อคโตปุส (rocktopus)?

จริงๆก็ไม่ได้เชิงอยู่บนบกซะทีเดียวอะนะ ถือว่าน้องปูของเราโชคร้ายก็แล้วกัน

ที่มา

Crab Gets Ambushed By Octopus – On Land

ปูฟองน้ำ (Pink Squat Lobster)

เจ้าปูตัวนี้มีชื่อเล่นว่า “Pink hairy squat lobster”หรือ “Fairy crab” ปูนางฟ้าเลยเหรอค่ะ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lauriea siagiani ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มของปูที่เรียกว่า Anomurans

Anomurans จะมีขาหรือไม่หรือระยางอยู่ 10 ขา ซึ่งญาติใกล้เคียงหรือ brachyuran (อันนี้คือปูจริงๆ) ขาด้านข้างจะมีขนาดเล็กและซ่อมอยู่ใต้กระดอง ใกล้ๆกับเหงือหรืออวัยวะหายใจ

Squat Lobster Hairy_DSC5545

ปูฟองน้ำพบตั้งแต่บริเวณน้ำตื้นจนถึงบริเวณน้ำพุร้อนใต้ทะเล อะอ๊ะในทะเลก็มีน้ำพุร้อนนะเดี๋ยวมีเวลาจะมาเขียนให้อ่าน

ซึ่งปูชนิดนี้จะอาศัยอยู่ที่ฟองน้ำขนาดยักษ์ (Xestospongia testudinaria) สังเกตได้ง่ายๆด้วยชมพูม่วง ตัดกับสีฟองน้ำ ขนจะสีออกเหลืองอ่อนๆ ( อย่าคาดหวังถ้าน้ำไม่ใสไม่ได้ชมพูขนาดนั้น 555 ทำลายความหวัง ) ตัวเล็กๆวิ่งไปมาบนฟองน้ำ

มีการค้นพบฟอลสซิลของปูฟองน้ำที่ช่วยยุคกลางจุราสิคของยุโรป

ดูจากรูปถึงจะเห็นว่าขนมีสีเหลืองเล็กน้อย

Squat Lobster Hairy_DSC5544

มาดูวีดีโอดีฝ่า

ที่มา

:  http://www.digitaljournal.com/blog/20406#ixzz3QnIuEovE

ปูปะการังลูกกวาด – Candy crab

 ปูปะการังลูกกวาด (Soft Coral Crab)

Hoplophrys oatesi

Candy Crab_DSC5113

เจ้าปูตัวนี้มีหลายชื่อปูปะการังอ่อนหรือปูปะการังลูกกวาด

ชื่อฝรั่ง :candy crabOates’s soft coral crabcommensal soft coral crab และ Dendronephthya crab

เจ้าปูตัวนี้อาศัยอยู่กับปะการังอ่อน เป็นปูที่พรางตัวได้ดีม๊ากมาก ถ้าไม่ใช่ประสบการณ์หรือดวงดีก็ไม่ได้เจอกันง่ายๆ แต่ว่าเจ้าปูหรือจะสู้นักดำน้ำอย่างเรา อิอิเพราะเจ้าปูนี่ก็คล้ายๆเราอยู่ปะการังต้นไหนก็อยู่ประจำเลย

ปูปะการังลูกกวาด มีสีสันที่สวยมากขนาด 1.5 – 2 เซนติเมตรอยู่ในกลุ่มสกุล  Dendronephthya ที่มีการเลียนแบบและพรางตัวแบบเทพมากทำเนียนเอาปะการังอ่อนมาติดที่ก้าม หรือกระดองที่ดูตะปุมตะปั่มสีสวยๆเหมือนโพลิป สีของปูขึ้นอยู่กับสีของปะการังซึ่งอาจจะเป็นสีขาว สีชมพู สีขาวหรือสีแดง

ขาคู่แรกของสปีซีส์นี้จะเป็นก้ามขนาดเล็ก ลำตัวจะเป็นหนามสีแดงกับพื้นสีขาว จะพรางตัวคล้ายกับประการังที่ปูนี้อาศัยอยู่

ดูวีดีโอประกอบของคุณ @  ดูลักษณะการเดินและการกินอาหาร

 

การแพร่กระจาย (Distribution)

ปูปะการังอ่อนหรือปูปะการังลูกกวาดจะพบแถบอินโด-แปซิฟิค

การกินอาหาร

ปูชนิดนี้กินแพลงค์ตอนเป็นอาหาร

เทคนิคนะเหรอ …ตามลีดเดอร์ดีๆ อ้าวไหนว่าจะแนะนำ อันนี้ต้องใช้การสังเกตแต่ถ้าเป็นไกด์อินโดหรือไกด์ปินส์เขาจะมีไม้วิเศษขนาดเล็กปาดเบาๆตามประการังอ่อน (ไม่รู้ไกด์ไทยทำเปล่านะ อิอิ)
Candy Crab_DSC5107

Phylum: Arthropoda
Subphylum: Crustacea
Class: Malacostraca
Order: Decapoda
Infraorder: Brachyura
Family: Epialtidae
Subfamily: Pisinae
Genus: Hoplophrys
Henderson, 1893
Species: H. oatesi

 

 

 

Reference : http://en.wikipedia.org/wiki/Hoplophrys

Video : https://vimeo.com/liquidguru

กุ้งจักรพรรดิ (Emperor Shrimp)

 

Emperor Shrimp_DSC0901

กุ้งจักรพรรดิ ( Periclimenes imperator ) เป็นกุ้งที่พบกระจายหลายที่มาก จะชอบอาศัย(สิง)อยู่ตามสัตว์ชนิดอื่นไม่ว่าจะเป็นนูดี้ สแปนนิชแดนเซอร์ (Hexabranchus sanguineus ) หรือปลาดาวหรือปลิงทะเล ตามไปเปิดดูที่ก้นปลิง บางครั้งก็อยู่ร่วมกับปูม้าจิ๋ว (Lissocarcinus orbicularis)

ลักษณะทั่วไป ก้ามสีส้ม ข้อต่อและปลายก้ามสีม่วง ขนาด 1-2 เซนติเมตร สามารถพบได้ที่น้ำลึกถึง 45 เมตร

การแปรผัน ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัดจะพบลวดลายสีสันจะแปรผันสูง

1.สีส้มสดด้านบนลำตัว มีแต้มสีขาวเป็นทางจรดปลายหาง 2.ตัวสีส้มจุดสีขาว 3.ตัวสีส้มแดง

Emperor Shrimp_DSC0881

 

กุ้งจักรพรรดิบนสแปนนิชแดนเซอร์ (Hexabranchus sanguineus )

ตัวนี้สีส้มจุดสีขาว เห็นปลายกล้ามสีม่วงชัดเจน

 

 

Emperor Shrimp_DSC0380

 

กุ้งจักรพรรดิดาวทะเล

ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่า

สีส้มสดด้านบนลำตัว มีแต้มสีขาวเป็นทางจรดปลายหาง

 

 

 

ดูวีดีโอของคุณ  Video credit : 

 

Emperor Shrimp_DSC0793 เดินไต่ปลิงทะเล

Emperor Shrimp_DSC0897

 อิอิพรางชมพู(สีแดง)บนสแปนนิชแดนเซอร์

Phylum: Arthropoda
Subphylum: Crustacea
Class: Malacostraca
Order: Decapoda
Infraorder: Caridea
Family: Palaemonidae
Genus: Periclimenes
Species: P. imperator
การตั้งชื่อแบบทวินาม
Periclimenes imperator
A. J. Bruce, 1967

 

Reference : หนังสือคู่มืออันดามัน กุ้งทะเลไทยหน้า 168-169

http://en.wikipedia.org/wiki/Periclimenes_imperator

http://ejlabs.net/imperial-shrimp-the-hitchhiker/